แถลงข่าว งานวัฒนธรรมและของดี ๑๐๘ ปี อำเภอหาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 14 - 23 มีนาคม 2568










แถลงข่าว
งานวัฒนธรรมและของดี ๑๐๘ ปี อำเภอหาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 14 - 23 มีนาคม 2568
ในวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น.
ณ บริเวณลานเอนกประสงค์หน้าที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่
ประวัติความเป็นมา (ข้อมูล 108 ปี อำเภอหาดใหญ่)
"หาดใหญ่" เป็นชื่อรวมของหมู่บ้านโคกเสม็ดชุนและหมู่บ้านหาดใหญ่ เดิมดินแดนหาดใหญ่
เป็นเนินสูง มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก การคมนาคมไม่สะดวก เป็นป่าต้นเสม็ดชุน โดยทั่วไปชาวบ้านจึง
เรียกว่า "บ้านโคกเสม็ดชน" เมื่อทางการได้ตัดทางรถไฟมาถึงท้องถิ่นนี้ จึงมีประชาชนอพยพมาตั้งหลักแหล่ง
ทำมาหากินเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ สมัยนั้นสถานีชุมทางรถไฟอยู่ที่สถานีอู่ตะเภา (ด้านเหนือของสถานี
รถไฟหาดใหญ่ใน ปัจจุบันเป็นเพียงที่หยุดรถไฟ) เนื่องจากสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่มทำให้น้ำท่วมเป็นประจำ
ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีมาอยู่ที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ในปัจจุบัน ประชาชนจึงได้ทยอยติดตามมา
สร้างบ้านเรือนบริเวณสถานีนั่นเอง จึงอาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีบทบาทต่อการขยับขยาย และ
ความเจริญก้าวหน้าของเมืองหาดใหญ่ตลอดมา
ต่อมาได้มีผู้เห็นการณ์ไกลว่าบริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่นี้ ต่อไปภายหน้าจะต้อง
เจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน จึงได้มีการ จับจองและซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากราษฎรในพื้นที่ ซึ่งบุคคลที่
ครอบครองที่ดินผืนใหญ่ ๆ อาทิ นายเจียกีซี (ต่อมาได้รับ พระราชทานนามเป็นขุนขุนพัทธ์จีนนคร)
คุณพระเสน่หามนตรี นายชีกิมหยง และพระยาอรรถกระวีสุนทร ทั้ง 4 ท่านนี้นับว่า เป็นบุคคลที่มีส่วน
ในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่เมืองหาดใหญ่อย่างแท้จริง โดยได้ทำการตัดถนน สร้างอาคาร
บ้านเรือนให้ราษฎรเช่า ตัดที่ดินแบ่งขาย และเงินที่ได้ก็นำไปตัดถนนสายใหม่ต่อไป ทำให้ชุมชมชนหาดใหญ่
เจริญเติบโตขึ้นอย่าง รวดเร็ว จนทางราชการต้องยกฐานะให้บ้านหาดใหญ่เป็นอำเภอที่มีชื่อว่า
"อำเภอเหนือ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อ จากอำเภอเหนือเป็น "อำเภอหาดใหญ่" และได้รับ
การยกฐานะเป็นอำเภอชั้นเอกในที่สุด
ต่อมาอำเภอหาดใหญ่มีอาณาเขตกว้างขวาง ทำให้ส่วนราชการไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึวถึง
จึงมีการจัดตั้งและยกฐานะอำเภอใหม่ขึ้น 3 อำเภอ ตามลำดับ ดังนี้
1. อำเภอนาหม่อม จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524 และยกฐานะขึ้น
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
2. อำเภอบางกล่ำ จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2529 และยกฐานะขึ้นเมื่อ
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538
3. อำเภอคลองหอยโข่ง จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535 และยกฐานะ
ขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540
ผู้ร่วมแถลงข่าว มีดังนี้

นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหาดใหญ่
พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่
พ.ต.อ. ธรรมรัตน์ เพชรหนองชุม ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่
 นางบุญฑิตยา แก้วมัน พัฒนาการอำเภอหาดใหญ่

นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหาดใหญ่

อำเภอหาดใหญ่ถือเป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดสงขลาที่มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวและ
ด้านเศรษฐกิจ ทั้งยังมีความหลากหลายในด้านขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีเอกลักษณ์ และ
ความหลากหลายของชาวไทยพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีน และพี่น้องชาวไทยมุสลิม ความหลากหลายเหล่านี้
ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้สนใจเดินทางมายังอำเภอหาดใหญ่แห่งนี้ วัฒนธรรมและของดี ๑๐๘ ปี อำเภอหาดใหญ่
การจัดงานวัฒนธรรมและของดีเมืองหาดใหญ่ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่
ชุมชนตั้งเดิม และท้องถิ่นของอำเภอซึ่งได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต
โดยแสดงออกในรูปแบบของวัฒนธรรม วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้น เพื่อเป็น
การปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้คนในหมู่บ้านและชุมชนเกิดความตระหนัก มีความตื่นตัวและเข้ามามีส่วนรวม
ในการฟื้นฟูเผยแพร่และสืบสานวัฒนธรรรมอันดีประกอบกับชุมชนและท้องถิ่นของอำเภอมีศักยภาพภาพทาง
ด้านธุรกิจการท่องเที่ยวที่คุ้มค่า โดยมีทั้งความเป็นเมืองที่พร้อมรับนักท่องเที่ยว มีทะเล ภูเขาและน้ำตก มี
อาหารหลากหลายรสชาติ ที่สามารถ ดึงดูดนักท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่
อำเภอหาดใหญ่ได้ จึงได้มีการบูรณาการทั้งภาครัฐและเอกชน กำหนดจัดงานวัฒนธรรมและของดีเมือง
หาดใหญ่ขึ้น และในฐานะเจ้าของโครงการ วัตถุประสงค์ในการจัดงานวัฒนธรรมและของดี ๑๐๘ ปี อำเภอหาดใหมู่





1. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และจังหวัดสงขลา
2. เพื่อให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มสัมมาชีพ ได้เผยแพร่จำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ของดีเมืองหาดใหญ่
3. เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประวัติความเป็นมาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวหาดใหญ่
4. เพื่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม
พ.ต.อ. ธรรมรัตน์ เพชรหนองชุม ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่
1. เรื่องความปลอดภัยในส่วนพื้นที่การจัดงานบริเวณลานหน้าที่ว่าการอำเภอและบริเวณโดยรอบ
ที่อยู่ในพื้นที่ของอำเภอหาดใหญ่ 
อำเภอหาดใหญ่/กองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอหาดใหญ่ที่ 4 ได้มีการสั่งใช้สมาชิก
กองอาสารักษาดินแดน ประเภทประจำกอง ประเภทสำรอง สมาชิกไทยอาสาป้องกันชาติ
(ทสปช.) และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย
บริเวณการจัดงานฯ ตั้งแต่วันที่ 14 - 23 มีนาคม 2568 พร้อมกันเวลา 18.00 น. ณ กอ.ร่วม
ที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาประกอบด้วย 13 จุด ดังนี้
จุดที่ 1 บริเวณแยกทางเข้าโรงเรียนเทศบาล 2
จุดที่ 2 บริเวณประตูด้านข้างโรงเรียนหาดใหญ่สมบูรณ์กุลกัลยา ถนนราษฎร์เสรี
จุดที่ 3 บริเวณถนนราษฎร์เสรี ตัดถนนสาครมงคล ซอยที่ 2 ด้านหลังอำเภอ
จุดที่ 4 บริเวณแยกหลังอำเภอดตัดถนนสาครมงคล ซอยแรกติดหลังอำเภอ
จุดที่ 5 บริเวณหน้าอำเภอแยกถนนเพชรเกษมตัดถนนสาครมงคล
จุดที่ 6 บริเวณประตูทางออกที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ถนนเพชรเกษม
จุดที่ 7 บริเวณทางเข้าที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่
จุดที่ 8 แยกซอยข้างอำเภอถนนสันติราษฎร์
จุดที่ 9 บริเวณประตูทางเข้าบ้านพัก ผบ.ร้อยฯ
จุดที่ 10 บริเวณหน้าเวที
จุดที่ 11 เดินเท้าบริเวณการจัดงานฯ
จุดที่ 12 ชุดเคลื่อนที่เร็ว อยู่ประจำ กอ.ร่วม
จุดที่ 13 กอ.ร่วม
2. ในส่วนของแผนงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภายในพื้นที่การจัดงาน ซึ่งมีผลต่อความปลอดภัยในทุกๆด้าน

นายอำเภอหาดใหญ่ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาและ
จังหวัดใกล้มาเที่ยว "งานวัฒนธรรมและของดี ๑๐๘ ปี อำเภอหาดใหญ่" ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก
ในระหว่างวันที่ 14 - 23 มีนาคม 2568
 ในงานนี้จะมีกิจกรรมการประกวด : การประกวดกลองยาว / การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง (รอบคัดเลือก) /
การประกวดไลน์แดนซ์ /การประกวดบาลโลบ / การประกวดธิดาชรารักษ์ (สาว ๒๐๐๐๐ ปี) / การประกวด
ยุวบุตร - ยุวธิดา / การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง (รอบชิงชนะเลิศ) / การประกวดวงดนตรีสตริง และ
การเดินแบบผ้าไทย
การแสดง : มโนราห์ไข่เหลี้ยม วิเชียรศรชัย / การแสดงดนตรี "นุ้ย สุวีณา" / การแสดงดนตรี
"วงแบเบาะ & กระแต พาราฮัท" / การแสดงดนตรี "วงสหาย" / การแสดงดนตรี "วงทัพห้า" / การแสดง
ดนตรี "วงโกปี้" / การแสดงดนตรี "เตย วีรยา" และ การแสดงดนตรี "อ้อฟ ดอกฟ้า อาร์สยาม"
 ความรู้สึกในฐานะผู้จัดงานวัฒนธรรมและของดี ๑๐๘ ปี อำเภอหาดใหญ่ ครั้งแรก
พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่
ในนามของเทศบาลนครหาดใหญ่ งานวัฒนธรรมและของดี ๑๐๘ ปี อำเภอหาดใหญ่ ที่กำลังจะจัดขึ้น รวมถึงในภาคเศรษฐกิจ สำหรับการจัดงานวัฒนธรรมและของดี ๑๐๘ ปี อำเภอหาดใหญ่ในครั้งนี้
สนับสนุนการจัดงานและประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชน

นางบุญฑิตยา แก้วมัน พัฒนาการอำเภอหาดใหญ่
การจัดงานวัฒนธรรมและของดี
๑๐๘ ปี อำเภอหาดใหญ่ในครั้งนี้
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหาดใหญ่ร่วมกับคณะกรรมการเครือข่าย OTOP หาดใหญ่
ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาด ภายได้โครงการ "ตลาดนัดชุมชนคน
หาดใหญ่" ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพตลาดนัดชุมชน ในการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับ
สินค้าของสัมมาชีพ ผลผลิตทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีศักยภาพ แต่ขาดช่องทางและ
โอกาสในการจำหน่าย
ตลาดนัดชุมชนคนหาดใหญ่ ได้รับการสนับสนุนบนงบประมาณจากบริษัท OTOP เพื่อสังคม
จังหวัดสงขลา จำนวน 20,000 บาท สำหรับกิจกรรมภายในงานฯ ได้แก่ การแสดงและจำหน่ายสินค้า
OTOP ซึ่งได้รับการสนับสนุนบูธโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากงานวัฒนธรรมและของดีเมืองหาดใหญ่ จำนวน
14 บูธ ซึ่งขณะนี้ได้ทำการรับสมัคร และพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติร่วมงานเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่
6 มีนาคม 2568 โดยจัดสรรประเภทผู้ร่วมกิจกรรม ดังนี้
1) OTOP ประเภทอาหาร จำนวน 4 บูธ
2) OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน 2 บูธ
3) OTOP ประเภทของใช้ ของตกแต่งของที่ระลึก จำนวน 2 บูธ
4) OTOP ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน 1 บูธ
5) OTOP ประเภทชวนชิม จำนวน 1 บูธ
6) ผลิตภัณฑ์จากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 2 บูธ
7) ผลิตภัณฑ์จากหมู่บ้านสัมมาชีพ จำนวน 1 บูธ และ
8) ของดีตำบลคลองอู่ตะเภา จำนวน 1 บูธ

ขอบคุณอำเภอหาดใหญ่ โดยนายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหาดใหญ่
เทศบาลนครหาดใหญ่ / สถานีตำรวจภูธธรอำเภอหาดใหญ่ / สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหาดใหญ่ /
สำนักงานเกษตรอำเภอหาดใหญ่ และภาคส่วนต่างๆ ที่ร่วมสนับสนุนให้เกิดการจัดงานนี้ขึ้น ร่วมถึงพี่ๆสื่อมวลชนในวันนี้ด้วย :

ภาพ/ข่าว : นรากร พวงงาม
#ศูนย์ข่าวพญาเหยี่ยว






 
เว็บสำเร็จรูป
×